9 ท่าเซ็กส์ที่ผู้ชายชอบ และทำให้สาวคนรักไปถึงจุดสุดยอด


         

ท่าเซ็กส์ที่ผู้ชายชอบ


ท่าเซ็กส์ที่ผู้ชายชอบ กับหลากกระบวนท่าที่จะทำให้ผู้หญิงไปถึงจุดสุดยอด

          แน่นอนว่าการมีเซ็กส์กับคนพิเศษนั้น มีส่วนช่วยสานความสัมพันธ์ของคู่รักให้กระชับแน่นแฟ้นมากขึ้นและต่างสุขสมด้วยท่าร่วมเพศต่าง ๆ โดยวันนี้กระปุกดอทคอมได้หยิบเอา 9 ท่าเซ็กส์ยอดนิยมของผู้ชายจากเว็บไซต์ mensfitness มาบอกกันด้วย ดูสิว่าจะมีท่าที่คุณชอบอยู่ด้วยหรือเปล่า
          - ท่ามิชชันนารี (Missionary)

          เรียกได้ว่าท่ามิชชันนารีเป็นท่าเซ็กส์ที่ผู้ชายชอบมาก เพราะเป็นท่าเบสิกที่เข้าด้ายเข้าเข็มสุด ๆ โดยผู้ชายอยู่บนและผู้หญิงนอนหงายอยู่ล่างพร้อมกางขาออกเล็กน้อย ช่วยให้ผู้ชายสอดใส่ได้ลึกและผู้หญิงไม่เหนื่อยง่าย แถมได้สบตากันด้วย ซึ่งทาง ดอเรียน โซลอท นักเพศศึกษา บอกว่าท่ามิชชันนารีอาจไม่มีอะไรหวือหวานัก แต่ฝ่ายหญิงชอบที่ได้ใกล้ชิดสุด ๆ กับแฟนหนุ่มของตัวเอง ส่วน โลรา โซโมซา ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเพศสัมพันธ์ เสริมว่า การที่จะทำให้ผู้หญิงมีความสุขมากขึ้นด้วยท่ามิชชันนารี ฝ่ายชายควรเปลี่ยนมุมการสอดใส่บ้าง แทนการเข้า-ออกตรง ๆ แบบเดิม ซึ่งจะช่วยให้ผู้หญิงถึงจุดสุดยอดได้รวดเร็วขึ้น

ท่าเซ็กส์ที่ผู้ชายชอบ

          ท่าคาวบอยสาวนั่งหันหลัง (Reverse Cowgirl)

          ท่าคาวบอยสาวนั่งหันหลังจัดได้ว่าเป็นท่าที่เพิ่มความสนุกให้ผู้ชายมากเลยที เดียว เพราะผู้ชายนอนหงายอยู่ข้างล่างแทน ขณะที่ฝ่ายหญิงจะนั่งหันหลังให้ พร้อมกับคร่อมจ้าวโลกไว้ โดย เมแกน แอนเดลโลซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเพศศาสตร์ บอกว่าท่านี้ช่วยให้ฝ่ายชายเข้าถึงจุดคลิตอริสได้ง่าย ส่งผลให้ฝ่ายหญิงเสร็จง่ายสุด ๆ

          ท่าด๊อกกี้ สไตล์ (Doggie Style)

          การทำท่าด๊อกกี้ สไตล์ เป็นอีกท่าเซ็กส์ที่ผู้ชายชอบทำ เพราะสามารถสอดใส่ได้ลึกขึ้น ขณะที่ผู้หญิงจะอยู่ในท่าคลานสี่ขาหันหลังให้ผู้ชาย โดย เอมี เลอวีน ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ให้ความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์อย่าง igniteyourpleasure บอกว่า ท่าด๊อกกี้ สไตล์ ทำให้ฝ่ายหญิงสามารถขยับสะโพกในตำแหน่งต่าง ๆ เพื่อให้ตัวเองถึงจุดสุดยอดได้ดี ส่วน ดร.กลอเรีย เบรม นักเพศศาสตร์ เผยว่าผู้ชายสามารถใช้มือหรือเซ็กส์ทอย กระตุ้นจีสปอต ช่วยให้เธอถึงจุดสุดยอดอย่างมีความสุขได้ด้วย

ท่าเซ็กส์ที่ผู้ชายชอบ
          ท่าผู้หญิงอยู่ข้างบน (Girl on Top)

          นับว่าเป็นท่าที่ทำให้ผู้ชายเพลินสุด ๆ และผู้หญิงมีความสุขมาก เพราะฝ่ายชายนอนหงายให้ฝ่ายหญิงนั่งคร่อมน้องชาย โดยหันหน้าเข้าหากัน ด้าน โลรา ซาโมซา กล่าวว่า ผู้ชายควรจับสะโพกแฟนสาวเพื่อบังคับจังหวะการโยกของเธอ ไม่เพียงเท่านี้ เอมี เลอวีน เสริมว่า ท่านี้ช่วยให้ฝ่ายหญิงมีความสุขอย่างยิ่ง เพราะว่าเธอเป็นคนควบคุมจังหวะและการสอดใส่นั่นเอง

          ท่าสปูนนิ่ง (Spooning)

          ท่าที่ผู้ชายโอบกอดตัวและสอดใส่ผู้หญิงจากด้านหลัง ซึ่งผู้ชายสามารถใช้มือสัมผัสจุดต่าง ๆ ของฝ่ายหญิงได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นหน้าอก เอว หรือจุดลับ โดย เมแกน แอนเดลโลซ์ กล่าวว่า ท่าสปูนนิ่งจะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายรู้สึกฟิน เพราะจุดลับของฝ่ายหญิงจะรัดจ้าวโลกแน่นขึ้นยังไงล่ะ

ท่าเซ็กส์ที่ผู้ชายชอบ
          ท่าคริสครอส (Crisscross)

          อาจจะดูเหมือนจัดท่ายากไปหน่อยสำหรับท่าคริสครอส เพราะทั้งสองคนต้องนอนตะแคงข้างและให้ฝ่ายชายสอดเข้าจากข้างหลัง โดยมีลักษณะคล้ายตัว “X” แต่รับรองว่าคุณผู้ชายจะฟินจนบอกไม่ถูกแน่นอน ซึ่งทาง มาร์แชล มิลเลอร์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเพศสัมพันธ์เสริมว่า ท่านี้ช่วยให้ผู้หญิงสามารถใช้นิ้วกระตุ้นคลิตอริสของตัวเองได้สะดวกด้วย

          เทคนิคใช้หมอนช่วย (The Pillow Technique)

          การใช้หมอนหรือผ้าห่มหนา ๆ มาเสริม ขณะร่วมรักในท่าต่าง ๆ ช่วยเปิดมุมใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น หากใช้หมอนรองสะโพกของฝ่ายหญิงในท่ามิชชั่นนารี จะทำให้กระดูกเชิงกรานของเธอยกขึ้น ช่วยให้ฝ่ายชายสอดใส่ได้ง่ายลึกกว่าเดิม ด้าน ดร.กลอเรีย เบรม เสริมว่า แม้ว่าการใช้หมอนจะทำให้ผู้ชายรู้สึกมีความสุข แต่ฝ่ายหญิงอาจรู้สึกไม่สบายตัวเท่าไรนักกับบางท่า และถ้าจะให้ดี ควรถามเธอก่อนว่าให้วางหมอนตรงไหน

ท่าเซ็กส์ที่ผู้ชายชอบ
          เทคนิคสองเราเท่ากัน (Coital Alignment Technique)

          ก่อนที่จะใช้เทคนิคนี้ ให้เริ่มร่วมรักกับท่ามิชชั่นนารีแบบปกติสักพัก แล้วเริ่มเทคนิคดังกล่าวโดยให้ฝ่ายชายยกสะโพกของฝ่ายหญิงขึ้น ซึ่งจะช่วยเปลี่ยนมุมการสอดใส่จากเข้า-ออก เป็นขึ้น-ลง ส่งผลให้จ้าวโลกเข้าถึงคลิตอริสโดยตรงและผู้ชายสามารถเพิ่มความแรงของการโยก ได้อีกด้วย นอกจากนี้ เอ็ดเวิร์ด ไอเชล นักจิตวิทยา กล่าวว่าเทคนิคนี้เป็นท่าเซ็กส์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลก ส่วน เอมี เลอวีน เสริมว่า คู่รักบางคู่บอกว่าเทคนิคข้างต้น ทำให้ร่างกายของพวกเขาใกล้ชิดกันมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นคลิตอริสได้ดีมาก

          ท่าขาพาดบ่า (Ankles Up)

          เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งท่าเซ็กส์ที่ผู้ชายชอบมาก เพราะขาทั้งสองข้างของผู้หญิงที่ยกมาพาดบ่าไว้ ช่วยเปิดจุดสงวนของเธอให้กว้างขึ้นและฝ่ายชายสอดใส่ได้ลึกสุด ๆ เท่าที่จะเข้าไปได้ โดย ดร.กลอเรีย เบรม บอกว่า การยกขาฝ่ายหญิงขึ้นนั้น ช่วยให้ฝ่ายชายเข้าถึงจีสปอตง่ายกว่าท่าอื่น ๆ นั่นเอง

          เมื่อหนุ่ม ๆ ได้ทราบถึงท่าเซ็กส์ต่าง ๆ ที่เรานำมาฝากกันแล้ว จะนำไปใช้กับคนรักยังไงให้มีความสุข ก็ค่อย ๆ ลองทีละท่า ไม่ต้องหักโหมมากเกินไป ระวังร่างกายจะอ่อนเพลีย จนไม่มีแรงสานต่อท่าอื่น ๆ ล่ะครับ ;)


ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

อ้างอิง  |  http://men.kapook.com/view114564.html





ประโยชน์ "Sex" ประโยชน์ของการมีเพศสัมพันธ์ ดีต่อสุขภาพได้อย่างไร?



     เมื่อเราพูดถึงคำว่า sex ผู้คนก็มักจะมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าหยิบยกมาพูดคุย เพราะว่ามันน่าอาย ใครที่พูดเรื่องนี้ก็จะถูกมองว่า โรคจิต แต่ปัจจุบันนี้ คำว่า sex ไม่ได้หมายถึงเรื่องบนเตียงเท่านั้น แต่ว่ายังพูดถึงเกี่ยวกับด้านสุขภาพอีกด้วย เรามาดูกันว่า ทุกครั้งที่คุณได้มีการร่วมเพศสัมพันธ์ SEX ได้ให้ประโยชน์ อะไรบ้าง
     Sex นอกจากจะให้ความสุขทางด้านจิตใจ กระชับความสัมพันธ์ระหว่างคนรักกันแล้ว ยังให้ความสุขทางด้านกายภาพอีกด้วย สุขภาพดี 9 อย่าง โดยการมีเซ็กส์ Wow !! :o
1. ช่วยเบิร์นแคลอรี่ เคยมีการวิจัยได้ระบุไว้ว่า การมีเพศสัมพันธ์ช่วยเผาผลาญพลังงานได้ดี คือการมีเพศสัมพันธ์นาน 30 นาที เผาผลาญได้ถึง 85 เเคลอรี่ และยิ่งถ้าเปลี่ยนท่าเยอะก็จะเพิ่มการเผาผลาญพลังได้ถึง 125 แคลอรี่ เป็นการออกกำลังกายที่ไม่ต้องสิ้นเปลืองอุปกรณ์เลยนะนี้

2. ช่วยลดอาการตึงเครียด เพราะกิจกรรมทางเพศจะช่วยหลั่งสารเอนโดร์ฟินส์ซึ่งเป็นสารความสุขนั้นเอง โดยเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น

3. เซ็กส์ คือยานอนหลับชนิดหนึ่ง ที่บริโภคบ่อยแค่ใหน ก็ไม่มีผลเสียต่อร่างกาย และยังทำให้การนอนหลับของคุณมีประสิทธิภาพกว่า ยานอนหลับตามร้านขายยาทั่วไปซะอีก

4. เซ็กส์ทำให้บุคลิกดีขึ้น เรื่องนี้เป็นเรื่องของทางด้านจิตวิทยา เมื่อคนที่มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น และพอใจกับรูปลักษณ์ของตนเอง

5. เซ็กส์ลดภาวะกามตายด้าน แน่อยู่แล้วว่า สิ่งของใดที่ถูดใช้บ่อย ก็ย่อมไม่เกิดสนิม

6.เซ็กส์ คือ การออกกำลังกายที่ปลอดภัยที่สุด เกิดอาการเจ็บปวดน้อยที่สุด

7. ลดโอกาสเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากการไม่หลั่งอสุจิ มันจะดูดซึมกลับเข้าไปใหม่ซึ่งเป็นอันตราย และยังก่อให้เกิดภาวะเครียด ซึ่งก่อให้เกิดมะเร็ง

8. สุขภาพจิตดี การมีsex ก็บ่งบอกว่าเพศตรงข้ามสนใจในรูปร่างของเรา นั้นก็แปลว่า เรามีเสน่ห์นั้นเอง

9.ช่วยลดอาการเจ็บปวด SEX เป็นยาขนานเอกเลยแหละ เพราะร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนทำให้เรารู้สึกดี ซึ่งจะกลบความรู้สึกเจ็บปวดได้ดี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.healthcorners.com
ขอบคุณภาพจาก matichon online
อ้างอิง http://www.todayhealth.org/family-

“ตาแห้ง”กับน้ำตาเทียม

“ตาแห้ง”กับน้ำตาเทียม


โดย นศภ. จิรัชญา เตชะพิริยะกุล -- อ่านแล้ว 64449 ครั้ง
 
น้ำตาในคนปกติประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ basic tear (คือน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา มีหน้าที่ให้ออกซิเจนแก่กระจกตาและทำให้ไม่ระคายเคือง) และ reflex tear (เป็นน้ำตาที่หลั่งเมื่อระคายเคือง)อาการ “ตาแห้ง” เป็นภาวะที่น้ำตาหรือน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา (basic tear) แห้งหรือลดลงผิดปกติ (1) เกิดได้จากหลายสาเหตุแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่ 1 เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะพร่องน้ำตา ได้แก่ กลุ่มอาการ Sjögren ต่อมน้ำตาทำงานบกพร่อง ท่อต่อมน้ำตาอุดตัน ยาบางชนิดมีผลลดการผลิตน้ำตา (เช่น ยาแก้แพ้ ยาขับปัสสาวะ ยารักษาจิตเวช) เป็นต้น และกลุ่มที่ 2 เป็นสาเหตุให้เกิดการระเหยของน้ำตา เช่น โรคของต่อมไมโบเมียน (Meibomian gland disease) โรคหรือภาวะที่ทำให้มีอัตราการกระพริบตาน้อยกว่าปกติ (เช่น กลุ่มอาการ extrapyramidal การจ้องมองหน้าจอหรือเลนส์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน) อายุมากขึ้น การใส่คอนแทคเลนส์เป็นประจำ ภาวะพร่องวิตามินเอ โรคภูมิแพ้ เป็นต้น นอกจากนี้สภาพแวดล้อมบางสภาวะอาจทำให้เกิดอาการตาแห้งเนื่องจากน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาระเหยได้ง่าย เช่น การอยู่ท่ามกลางแสงแดดจัด ลมแรง หรืออากาศแห้ง (1-3) อาการเบื้องต้นที่เป็นสัญญาณของอาการตาแห้ง ได้แก่ อาการระคายเคืองคล้ายมีเศษผงเข้าตาแสบตาความรู้สึกเหนอะหนะตา ตามัวเป็นๆ หายๆ มีอาการมากตอนบ่ายหรือตอนเช้า หรือเมื่อใช้สายตามากต่อเนื่องนาน ๆ เป็นต้น หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษาหรือแก้ไขสาเหตุที่ถูกต้อง อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นจนเป็นอันตรายต่อดวงตาได้ (1,2)
น้ำตาเทียมเป็นเภสัชภัณฑ์ที่ใช้สำหรับบรรเทาอาการตาแห้ง มีสมบัติใกล้เคียงกับน้ำตาธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์น้ำตาเทียมที่มีขายในประเทศไทยในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ สารละลาย เจล และขี้ผึ้ง ซึ่งแต่ละรูปแบบต่างก็มีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกันไปดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ น้ำตาเทียมรูปแบบต่าง ๆ จุดเด่นและจุดด้อยของน้ำตาเทียมแต่ละรูปแบบ (4,5)
รูปแบบของน้ำตาเทียม
จุดเด่น
จุดด้อย
สารละลาย
ใช้ง่ายกว่าแบบเจลและขี้ผึ้งไม่เหนอะหนะ สามารถหยอดได้ในช่วงกลางวันโดยไม่ทำให้ตาพร่ามัว
อาจต้องหยอดบ่อยครั้งกว่ารูปแบบเจลหรือขี้ผึ้ง
เจลและขี้ผึ้ง
เป็นรูปแบบที่มีความหนืดมากกว่าแบบสารละลาย ทำให้น้ำระเหยช้าลงจึงช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ดวงตาได้นานกว่าแบบสารละลาย เหมาะสำหรับใช้ในผู้ที่มีอาการตาแห้งระดับปานกลางถึงรุนแรง
อาจทำให้ตาพร่ามัวหลังหยอด หรือป้ายตาชั่วขณะ จึงแนะนำให้ใช้ก่อนนอน
ส่วนประกอบหลักของน้ำตาเทียมในรูปแบบสารละลายและเจล ได้แก่ สารช่วยหล่อลื่นและให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตา เช่น methylcellulose, carboxymethylcellulose, hydroxyethylcellulose, hydroxypropyl methylcellulose, dextran, polyvinyl alcohol, sodium hyaluronate, polyethylene glycol, carbomer เป็นต้น นอกจากนี้ยังประกอบด้วยบัฟเฟอร์เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงและควบคุมความเป็นกรด-ด่างของน้ำตาเทียมให้เข้ากับความเป็นกรด-ด่างของน้ำตา เช่น boric acid และ sodium borate สารปรับสภาพตึงตัวเพื่อปรับ osmolarity ของน้ำตาเทียมให้เข้ากับน้ำตา ที่นิยมใช้คือ sodium chloride สารอิเล็กโทรไลต์อื่น ๆ เพื่อทำให้น้ำตาเทียมมีสมบัติใกล้เคียงกับน้ำตา เช่น calcium chloride, magnesium chloride, potassium chloride, sodium lactate เป็นต้น และสารกันเสีย เช่น benzalkonium chloride ส่วนน้ำตาเทียมรูปแบบขี้ผึ้งประกอบด้วยสารช่วยหล่อลื่นและให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตา เช่น lanolin, white petrolatum, mineral oil เป็นต้น และอาจใส่หรือไม่ใส่สารกันเสียในผลิตภัณฑ์ (4)
น้ำตาเทียมที่นิยมใช้กันในปัจจุบันส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบสารละลาย แบ่งตามลักษณะภาชนะบรรจุได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ภาชนะบรรจุแบบ multiple dose และ unit dose ดังแสดงในรูปที่ 1 น้ำตาเทียมที่บรรจุในภาชนะแบบ multiple dose สามารถใช้ได้หลายครั้งหลังเปิดขวดเนื่องจากมีสารกันเสียในตำรับทำให้สามารถใช้ได้นานประมาณ 1 เดือนหลังเปิดขวดใช้ครั้งแรก ส่วนน้ำตาเทียมที่บรรจุในภาชนะแบบ unit dose จะไม่มีสารกันเสีย จึงมีอายุการใช้งานภายใน 24 ชั่วโมงหลังเปิดใช้ครั้งแรก (1,4,6,7) รายละเอียดสรุปไว้ในตารางที่ 2
 
รูปที่ ลักษณะภาชนะบรรจุน้ำตาเทียมแบบ multiple dose และ unit dose
ตารางที่ 2 ลักษณะเฉพาะของน้ำตาเทียมและการเลือกใช้แบ่งตามลักษณะภาชนะบรรจุ (1,4,6,7)
ลักษณะภาชนะบรรจุ
ขนาดบรรจุ
สารกันเสีย
อายุการใช้งานหลังเปิดใช้ครั้งแรก
การเลือกใช้
ขวดยาหยอดตา
แบบใช้หลายครั้ง
(multiple dose container)

3-15 ซีซี
มี
1 เดือน
เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งเล็กน้อยสะดวกสำหรับผู้ที่ใช้เป็นประจำ อย่างไรก็ตามข้อเสียของน้ำตาเทียมชนิดนี้คือ อาจเกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองตา เนื่องจากสารกันเสียทำลายเซลล์เยื่อบุกระจกตา
หลอดขนาดเล็ก
แบบใช้ครั้งเดียว
(single dose container)

0.3-0.9 ซีซี
ไม่มี
24 ชั่วโมง
เหมาะกับผู้ที่มีประวัติแพ้สารกันเสียในน้ำตาเทียม หรือต้องหยอดตาบ่อย ๆ เป็นเวลานานเพราะการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสารกันเสียต่อเนื่องนานๆ ทำให้เกิดการทำลายเซลล์เยื่อบุกระจกตาได้ (8) แต่น้ำตาเทียมชนิดนี้มักมีราคาสูงกว่าแบบ multiple dose
 
 สำหรับผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ควรหลีกเลี่ยงน้ำตาเทียมที่มีสารกันเสียที่ทำให้เกิดการทำลายเซลล์เยื่อบุกระจกตาได้ เช่น benzalkonium chloride เนื่องจากคอนแทคเลนส์ดูดซับสารนี้ได้และทำให้เยื่อบุกระจกตาสัมผัสกับสารนี้เป็นเวลานาน จึงอาจทำลายเซลล์เยื่อบุกระจกตาได้ ดังนั้นจึงควรเลือกใช้น้ำตาเทียมที่ปราศจากสารกันเสียซึ่งเป็นชนิดที่บรรจุในภาชนะบรรจุแบบ unit dose หรือเลือกใช้น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสียชนิดที่เป็นพิษต่อเยื่อบุกระจกตาน้อย เช่น stabilized oxychloro complex (Purite®) polyquaterium-1 (Polyquad®) สารประกอบระหว่าง boric acid, zinc, sorbital และ propylene glycol (SofZia™) แต่หากจำเป็นต้องใช้น้ำตาเทียมที่มี benzalkonium chloride ควรถอดคอนแทคเลนส์ออกก่อนหยอดน้ำตาเทียม และใส่คอนแทคเลนส์หลังจากหยอดตาเสร็จแล้วประมาณ 10 นาที (8-10)
การใช้น้ำตาเทียมมีความแตกต่างกันขึ้นกับรูปแบบของน้ำตาเทียมและความรุนแรงของอาการ ดังนั้นจึงควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร และพึงระลึกเสมอว่า “น้ำตาเทียมใช้สำหรับบรรเทาอาการตาแห้งเท่านั้น แต่ไม่สามารถรักษาหรือแก้ไขสาเหตุของอาการตาแห้งได้” ควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงและทำการรักษาต่อไป
ข้อควรระวังทั่วไปในการใช้น้ำตาเทียมหรือยาหยอดตา คือ ควรระมัดระวังไม่ให้ปลายหลอดน้ำตาเทียมแตะโดนบริเวณดวงตาหรือใบหน้า หรือสัมผัสปลายนิ้วมือหรือส่วนใดของร่างกาย และไม่ว่าจะใช้น้ำตาเทียมชนิดใด หากครบกำหนดอายุการใช้งานแล้วควรทิ้งส่วนที่เหลือทันที เนื่องจากอาจเกิดการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียได้ หากมีอาการระคายเคืองตามากขึ้นหรือเกิดความผิดปกติใดๆ หลังหยอดน้ำตาเทียม ให้หยุดใช้ทันทีและรีบปรึกษาจักษุแพทย์ ผู้ที่มีอาการตาแห้งขั้นรุนแรงและเรื้อรังควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาสาเหตุที่แท้จริงของอาการ (6)
 เอกสารอ้างอิง
1. ศักดิ์ชัย วงศ์กิตติรักษ์, ประภัสร์ ศุขศรีไพศาล, บรรณาธิการ. จักษุวิทยาสำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน; 2546.
2. Foster CS, Yuksel E, Anzaar F, et al. Dry eye syndrome: Treatment & medication [Internet]. New York: WebMD; c1994-2014 [updated 2013 Dec 16; cited 2014 May 27]. Available from: http://emedicine.medscape.com/article/1210417-treatment
3. Galor A, Feuer W, Lee DJ, et al. Prevalence and risk factors of dry eye syndrome in a United States Veterans Affairs population. Am J Ophthalmol. 2011;152:377–384.
4. Chowhan m, Lang JC, Missel P. Opthalamic preparations. In Allen LV Jr, ed. Remington: The science and practice of pharmacy, 22nd ed. Chicago: Pharmaceutical Press; 2012. Chap 43.
5. Management and therapy of dry eye disease: Report of the management and therapy subcommittee of the international dry eye workshop (2007) Ocul Surf. 2007;5(2):163–78.
6. Artificial tears [Internet]. New York: WebMD; c1994-2014 [updated 2014 Mar
28; cited 2014 May 25]. Available from: http://reference.medscape.com/drug/tears-naturale-tears-plus-artificial-tears-343632#0
7. ดวงดาว ฉันทศาสตร์. Ophthalmic preparations. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา Extemporaneous compounding in pharmacy. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2556.
8. Freeman PD, Kahook MY. Preservative in topical ophthalmic medication: Historical and clinical  perspectives. Expert Rev Ophthalmol. 2009;4(1):59-64
9. ธวิวรรน์ สวัสดิโสภานนท์. การใช้สารกันเสียในยาหยอดตา. GPO R&D newsletter 2555;19(2):16-8.
10. Waknine Y. FDA approves bepotastine ophthalmic solution for treating "allergy eyes" [Internet]. New York: WebMD; c1994-2014 [updated 2010 Sep 17; cited 2014 June 2]. Available from: http://www.medscape.org/viewarticle/709069

อ้างอิง http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=14

สาระน่ารู้ เรื่องแคลเซียม

สาระน่ารู้ เรื่องแคลเซียม


โดย นศภ. พิชญ์ภิญญาณ์ แก้วปานันท์ -- อ่านแล้ว 4863 ครั้ง
 
แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่พบมากที่สุดในร่างกาย โดยร้อยละ 99 ของแคลเซียมในร่างกายจะเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน หน้าที่สำคัญ เช่น พัฒนาและสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน ควบคุมการทำงานของหลอดเลือด ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการเต้นของหัวใจ การส่งความรู้สึกไปตามเส้นประสาท การปลดปล่อยฮอร์โมน เป็นต้น1,2 ร่างกายจะมีกลไกที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับแคลเซียมในเลือดให้สมดุล หากในเลือดมีระดับแคลเซียมต่ำ ร่างกายจะดึงแคลเซียมที่สะสมในกระดูกเพื่อรักษาสมดุลของแคลเซียมในเลือด ปกติร่างกายจะไม่สามารถสร้างแคลเซียมขึ้นมาได้เอง จึงต้องรับประทานเข้าไปเพื่อทดแทนแคลเซียมที่ถูกนำไปใช้หรือถูกขับทิ้งออกจากร่างกาย ซึ่งถ้าร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอจะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้1,3
1. โรคกระดูกพรุน  เป็นภาวะที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง ทำให้กระดูกเปราะบางและมีโอกาสหักได้ง่าย โดยคนที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปจะเริ่มมีการสูญเสียมวลกระดูกมากขึ้น และอัตราการสูญเสียจะเพิ่มขึ้นทุกปี
2. โรคความดันโลหิตสูง มีการศึกษาพบว่าคนที่ความดันโลหิตสูงมักจะรับประทานแคลเซียมน้อยกว่าคนปกติ และระดับแคลเซียมที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้ความดันโลหิตลดลง เพราะแคลเซียมช่วยให้กล้ามเนื้อบีบตัวได้ดีและทำให้หัวใจและหลอดเลือดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. อาการก่อนมีประจำเดือน เช่น ปวดหัว อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า อยากอาหาร เป็นต้น โดยมีการศึกษาพบว่าผู้หญิงที่รับประทานแคลเซียมขนาด 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน จะลดอาการก่อนมีประจำเดือนได้ร้อยละ 50

          กระทรวงสาธารณสุขกำหนดปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้บริโภคในแต่ละวันสำหรับกลุ่มอายุต่างๆ4  ดังต่อไปนี้
อายุ
ปริมาณแคลเซียม (มิลลิกรัม)

0-5 เดือน
210

6-11 เดือน
270

1-3 ปี
500

4-8 ปี
800

9-18 ปี
1,000

19-50 ปี
800

>50 ปี
1,000

หญิงตั้งครรภ์*
800

หญิงให้นมบุตร*
800

*หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรที่เป็นวัยรุ่น ควรบริโภคแคลเซียมตามปริมาณที่แนะนำในช่วงวัยรุ่น
          แหล่งของแคลเซียมที่ได้รับ อาจมาจากการรับประทานอาหาร เช่น นม ปลาตัวเล็กที่ทานได้ทั้งกระดูก กุ้งฝอย กุ้งแห้ง กะปิ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ (ยกเว้นเต้าหู้ไข่) เป็นต้น หรือรับประทานยาเม็ดแคลเซียม แต่ผลิตภัณฑ์ยาเม็ดแคลเซียมจะมีความแตกต่างกันที่รูปเกลือ ซึ่งจะให้ปริมาณแคลเซียมที่ไม่เท่ากัน5 ดังต่อไปนี้
แคลเซียมในรูปเกลือต่าง ๆ
ปริมาณแคลเซียมที่ได้จากเกลือแคลเซียม 100 มิลลิกรัม
แคลเซียมคาร์บอเนต
40 มิลลิกรัม
แคลเซียมอะซิเตต
25 มิลลิกรัม
แคลเซียมซิเตรต
21 มิลลิกรัม
แคลเซียมแลคเตต
13 มิลลิกรัม
แคลเซียมกลูโคเนต
9 มิลลิกรัม
          ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ในท้องตลาดจะเป็นแคลเซียมในรูปเกลือคาร์บอเนต ซึ่งให้แคลเซียมได้มากที่สุด คือ ร้อยละ 40 ดังนั้นในผู้สูงอายุ จะต้องรับประทานผลิตภัณฑ์ยาแคลเซียมคาร์บอเนตวันละ 2,000 มิลลิกรัม จึงจะได้แคลเซียม 800 มิลลิกรัมตามความต้องการ หรือในผู้หญิงตั้งครรภ์ จะต้องรับประทานผลิตภัณฑ์ยาแคลเซียมคาร์บอเนตวันละ 2,500 มิลลิกรัม จึงจะได้แคลเซียม 1000 มิลลิกรัมตามความต้องการ นอกจากรูปเกลือที่ต่างกันแล้ว ผลิตภัณฑ์ยาเม็ดแคลเซียมยังมีหลายรูปแบบ คือ ยาเม็ดแข็ง ยาเม็ดฟู่ และยาแคปซูล หากต้องการรับประทานยาเม็ดแคลเซียมควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

เอกสารอ้างอิง
1. Calcium [Internet]. Baltimore: University of Maryland Medical Center (UMMC); 2013. Available from:http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/calcium. Accessed 2014 May 23.
2.. Calcium dietary supplement fact sheet [Internet]. Bethesda: National institutes of health (NIH); 2013. Available from: http://ods.od.nih.gov/factsheets/CalciumHealthProfessional/. Accessed 2014 May 23.
3. Standing committee on the scientific evaluation of dietary reference intakes, food and nutrition board, Institute of medicine. Dietary reference intakes for calcium, phosphorus, magnesium, vitamin D and fluoride [Internet]. Washington, DC: National Academy Press; 1997. Available from:  http://books.nap.edu/openbook.php?record_id=5776&page=90. Accessed 2014 May 25.
4. แนวทางเวชปฏิบัติเรื่อง โรคกระดูกพรุน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2548. ที่มา: http://www.dms.moph.go.th/imrta/images/pdf_cpg/2548/15.pdf. วันที่อ้างถึง 23 พ.ค. 2557.
5. บุษบา จินดาวิจักษณ์. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน: ยารักษาโรคกระดูกพรุน ใช้อย่างไร [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553. ที่มา:http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/

knowledgeinfo.php?id=30. วันที่อ้างถึง 25 พ.ค. 2557.
อ้างอิง http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=12

ผลิตภัณฑ์กันแดดปกป้องผิวอย่างไร

ผลิตภัณฑ์กันแดดปกป้องผิวอย่างไร?


โดย นศภ.ชุติมณฑน์ อุดมเกียรติกูล -- อ่านแล้ว 16781 ครั้ง
 
แสงแดดจากดวงอาทิตย์ที่ตกถึงผิวโลกประกอบด้วยรังสีหลายชนิด แต่รังสีที่มีผลต่อผิวหนังค่อนข้างมากและชัดเจนคือ รังสี UV ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามช่วงความยาวคลื่น ได้แก่ รังสี UV-A (ความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 320–400 nm) และ UV-B (มีช่วงความยาวคลื่น 290–320 nm) รังสี UV มีผลต่อผิวหนังทั้งในแง่ก่อให้เกิดประโยชน์ เช่น กระตุ้นการสร้างวิตามินดีและกระตุ้นการสร้างเม็ดสีที่ผิวเพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด แต่รังสี UV ก็ก่อให้เกิดโทษได้เช่นกัน โดยรังสี UV-A สามารถทะลุผ่านผิวหนังถึงชั้นหนังแท้ เข้าไปทำลายเนื้อเยื่อคอลลาเจนและเส้นใยอิลาสติก ทำให้เซลล์ผิวเกิดภาวะแก่ก่อนวัย ส่วนรังสี UV-B เมื่อได้รับเป็นเวลานานจะทำให้ผิวหนังบวมแดง พองและลอกออก เกิดอาการไหม้แดด (sunburn) และเมื่อได้รับรังสีอย่างต่อเนื่อง ก็อาจพัฒนาให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ การใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดทาผิวก่อนออกแดด เป็นวิธีการหนึ่งในการปกป้องผิวจากรังสี UV แต่ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์กันแดดจำนวนมากและหลากหลาย ดังนั้นหากผู้บริโภคมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กันแดด จะทำให้สามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดได้อย่างเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปกป้องผิวจากรังสี UV   
สารที่ทำหน้าที่ป้องกันรังสี UV ในผลิตภัณฑ์กันแดด
ในผลิตภัณฑ์กันแดดประกอบด้วยสารที่ทำหน้าที่ป้องกันรังสี UV ซึ่งสารดังกล่าวสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามคุณสมบัติในการป้องกันรังสี UV ได้ดังนี้
1. กลุ่มสารที่ทำหน้าที่ป้องกันรังสี UV โดยการดูดซับรังสี สารกลุ่มนี้จะเคลือบอยู่บนผิวหนังแล้วดูดกลืนรังสี UV ไว้ ทำให้รังสี UV ไม่สามารถทะลุผ่านเข้ามาทำอันตรายต่อผิวหนัง หลังจากนั้นจึงค่อยๆ คายพลังงานออกมาในรูปรังสีที่ไม่เป็นอันตราย สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสารดูดซับรังสี UV-A เช่น แอนทรานิเลต (anthranilate) เบนโซฟีโนน (benzophenone) เป็นต้น และ กลุ่มสารดูดซับรังสี UV-B เช่น ซินนาเมต (cinnamate) ซาลิไซเลต (salicylate) เป็นต้น สารกลุ่มนี้มีจุดเด่นในเรื่องความสามารถในการป้องกันรังสี UV ได้ดี เพราะสามารถดูดกลืนรังสีไว้ได้ทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ที่มีสารในกลุ่มนี้มีโอกาสเกิดการแพ้ต่อผิวได้ มากกว่าสารกันแดดที่ป้องกันรังสี UV โดยการสะท้อนรังสี เนื่องจากลักษณะโครงสร้างของสารกลุ่มนี้ ทำให้สารบางส่วนสามารถซึมผ่านชั้นผิวหนังและเกิดอาการแพ้ได้
2. กลุ่มสารที่ทำหน้าที่ป้องกันรังสี UV โดยการสะท้อนรังสี สารกลุ่มนี้จะเคลือบอยู่บนผิวหนังแล้วทำการสะท้อนหรือกระจายรังสี UV เสมือนเป็นร่มให้กับผิวหนัง จึงสามารถป้องกันรังสี UV ได้ ตัวอย่างของสารกลุ่มนี้ได้แก่ ซิงก์ออกไซด์ (zinc oxide) ไททาเนียมไดออกไซด์ (titanium dioxide) และ แมกนีเซียมออกไซด์ (magnesium oxide) เป็นต้น เนื่องจากสารกลุ่มนี้ไม่ถูกดูดซึมผ่านผิวหนังจึงมีความปลอดภัยสูงกว่ากลุ่มแรกและมีโอกาสเกิดการแพ้ได้น้อย แต่มีข้อด้อยคือ สารกลุ่มนี้มีขนาดอนุภาคที่ค่อนข้างใหญ่ เมื่อทาที่ผิว จะเกิดการสะท้อนแสง ทำให้เกิดปื้นขาวบริเวณที่ทาและแลดูไม่เป็นธรรมชาติ ดังนั้นผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีส่วนผสมของสารกลุ่มนี้มักนิยมใช้สารที่มีอนุภาคขนาดเล็ก หรือที่รู้จักกันว่า micronized form (มีขนาดอนุภาคอยู่ในช่วง 0.1 - 100 ไมครอน) เมื่อทาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจึงไม่เกิดเป็นปื้นขาวและสามารถกระจายตัวบนผิวได้ง่าย นอกจากนี้การมีอนุภาคขนาดเล็กยังช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการสะท้อนหรือกระจายรังสี UV ได้อีกด้วย
ค่า SPF และ PFA
ผลิตภัณฑ์กันแดดแต่ละตัว จะมีความสามารถในการป้องกันแดดได้แตกต่างกัน จึงได้มีการกำหนดค่าชี้วัดประสิทธิภาพในการป้องกันแดดที่สำคัญและเป็นมาตรฐานสากลไว้ 2 ชนิด ได้แก่ SPF และ PFA
SPF (sun  protection  factor) คือ ค่าที่วัดประสิทธิภาพในการป้องกันการไหม้แดงของผิวหนังที่เกิดจากรังสี UV-B โดยใช้ตัวเลข แสดงระดับของประสิทธิภาพและความสามารถในการดูดซับรังสี UV-B ดังแสดงในตารางข้างล่าง แต่อย่างไรก็ตามค่า SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UV-B ได้ไม่แตกต่างกัน
PFA  (protection  factor of  UV-A) คือ ค่าที่วัดประสิทธิภาพในการป้องกันอาการดำคล้ำของผิวหนังที่เกิดจากรังสี UV-A โดยสัญลักษณ์ในการแสดงระดับของประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UV-A ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของแต่ละประเทศ ดังแสดงในตาราง
ค่าSPF
ค่าดูดซับรังสี 

UV-B (%)
ค่า PFA
UV-A rating
ความหมาย
Japanese
US
2-15
50-93
2  -  < 4
PA    +
*
ป้องกัน UV-A ต่ำ
15-30
93-96
4  -  < 8
PA   ++
**
ป้องกัน UV-A ปานกลาง
30-50
96-98
> 8
PA  +++
***
ป้องกัน UV-A สู
หมายเหตุ ค่า PFA < 2 = ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน UV-A
ผลิตภัณฑ์กันแดดบางชนิด ระบุคุณลักษณะพิเศษในการกันน้ำ (water resistance) เพื่อแสดงให้ผู้บริโภคทราบว่า ผลิตภัณฑ์กันแดดประเภทนี้ยังคงสภาพ SPF ตามที่กำหนดเมื่อทาผลิตภัณฑ์แล้วมีการแช่น้ำ ซึ่งความ

สามารถในการกันน้ำ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ

1. Water resistance product  คือ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถคงสภาพ SPF ได้ตามที่กำหนด หลังจากแช่น้ำนาน 40 นาที

2. Very water resistance product  คือ ผลิตภัณฑ์ที่ยังคงสามารถคงสภาพ SPF ได้ตามที่กำหนด หลังจากแช่น้ำนาน 80 นาที
รูปแบบผลิตภัณฑ์กันแดด      
ผลิตภัณฑ์กันแดดในท้องตลาด มีรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ในที่นี้จะยกตัวอย่างรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้กัน ดังต่อไปนี้
1. รูปแบบอิมัลชัน ได้แก่ ครีม โลชัน เป็นรูปแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด มีความหนืดที่แตกต่างกันไป ข้อดีของรูปแบบนี้คือ มีความสามารถในการกระจายตัวบนผิวได้ดี รวมทั้งมีความสามารถในการเคลือบและยึดติดผิวได้ดี แต่ข้อเสียของผลิตภัณฑ์รูปแบบนี้คือ เมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบอื่น รูปแบบอิมัลชันจะทำให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกเหนอะหนะได้มากกว่า แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบอิมัลชันที่มีความเหนอะหนะน้อยวางจำหน่าย ในท้องตลาดเช่นกัน เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภค
2. รูปแบบเจล เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดเด่นในเรื่องความสวยงามของเนื้อผลิตภัณฑ์ ใส และน่าใช้ แต่ข้อด้อยที่มักพบคือ มักมีราคาแพง ฟิล์มที่เกิดจากเจลสามารถถูกชะออกโดยน้ำหรือเหงื่อได้ง่าย ทำให้สูญเสียประสิทธิภาพในการกันแดดไป
3. รูปแบบแอโรซอล เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดฉีดพ่นหรือสเปรย์ มีข้อดีคือ ใช้กับผิวหนังบริเวณกว้างได้ง่าย แต่ข้อเสียที่พบได้คือ มักเกิดฟิล์มที่ไม่ต่อเนื่อง ทำให้ประสิทธิภาพในการปกป้องผิวจากรังสี UV ลดลง
การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กันแดด
จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์กันแดด ที่จำหน่ายในท้องตลาด มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ทั้งความสามารถในการป้องกันรังสี UV และรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กันแดด จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น
ความสามารถในการป้องกันรังสี UV: หากต้องการผลิตภัณฑ์ที่สามารถป้องกันอันตรายต่อผิวและการเกิดผิวคล้ำเสียจากแสงแดด ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีทั้งค่า SPF และ PFA กล่าวคือเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถป้องกันได้ทั้งรังสี UV-B และ UV-A แต่หากต้องการอาบแดด เพื่อทำให้สีผิวเป็นสีแทน ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถป้องกันเฉพาะรังสี UV-B จะช่วยป้องกันอาการไหม้แดด แต่ไม่ป้องกันรังสี UV-A (ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า PFA น้อยๆ) จึงทำให้รังสี UV-A ผ่านผิวหนังและกระตุ้นการสร้างเมลานินได้ โดยคุณสมบัติดังกล่าวสามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดผิวสีแทน (sun-tanning products)
รูปแบบของผลิตภัณฑ์: ตัวอย่างเช่น ไม่ควรเลือกรูปแบบเจลหาก ต้องไปทำกิจกรรมทางน้ำ เนื่องจากน้ำสามารถชะฟิล์มที่เกิดจากเจลออกไปจากผิวได้ง่าย ทำให้สูญเสียประสิทธิภาพในการกันแดด  หากต้องการทาผิวเป็นบริเวณกว้างเช่น ลำตัว แขน ขา อาจพิจารณาเลือกรูปแบบอิมัลชัน เนื่องจากเป็นรูปแบบที่กระจายตัวบนผิวได้ดี ทนต่อการชะล้างของเหงื่อได้ดีมากกว่ารูปแบบเจล และมีความสามารถในการเคลือบและยึดติดผิวได้ดี
อายุ: ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 เดือนไมควรใช้ผลิตภัณฑ์กันแดด เนื่องจากอาจเกิดการระคายเคืองต่อผิวได้ง่าย อาจใช้วิธีการอื่นในการป้องกันแสงแดด เช่น หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดในช่วงเวลา 11.00 – 15.00 น.เพราะแสงแดดในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีรังสี UV สูงมาก ควรใส่หมวก เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว เมื่ออยู่กลางแจ้งเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง เป็นต้น หากเด็กอายุมากกวา 6 เดือน อาจลองใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของไททาเนียมไดออกไซด์ซึ่งจะเคลือบอยู่ที่ผิว และมีโอกาสเกิดอาการแพ้ได้น้อย นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเด็กควรเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากแอลกอฮอล
กิจกรรมที่ทำ: ในแต่ละกิจกรรมที่ทำมีการสัมผัสกับรังสี UV ในปริมาณที่แตกต่างกัน การเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF ที่เพียงพอต่อการปกป้องผิว จึงเป็นสิ่งสำคัญ ตัวอย่างของการเลือกค่า SPF ให้เหมาะสมกับกิจกรรมได้แก่ เลือกค่า SPF ตั้งแต่ 15 ขึ้นไป สำหรับการทำกิจวัตรประจำวันหรือกิจกรรมที่อยู่แต่ภายในอาคาร ส่วนค่า SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป เหมาะสำหรับการทำกิจกรรมกลางแจ้ง และหากเป็นการทำกิจกรรมกลางแจ้งที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางน้ำ ก็เหมาะสำหรับการใช้ SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป และมีความสามารถในการกันน้ำ
วิธีการใช้ผลิตภัณฑ์กันแดด
ถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์กันแดดให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UV มากยิ่งขึ้น แต่วิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ถูกวิธีจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์กันแดดสามารถป้องกันรังสี UV ได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ได้อย่างปลอดภัยด้วยเช่นกัน ข้อปฏิบัติในการใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดมีดังนี้

1. ควรทาผลิตภัณฑ์กันแดดอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน แต่หากต้องการให้ได้ผลในการป้องกันผิวจากแสงแดดมากที่สุด แนะนำให้ทาผลิตภัณฑ์กันแดดทุกๆ 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะเวลาที่มีเหงื่อออก หรือหลังจากว่ายน้ำ หรือเช็ดตัว

2. ควรทาให้เป็นฟิล์มสม่ำเสมอและปกคลุมทั่วผิว แต่ไม่ต้องถูนวด

3. ทาผลิตภัณฑ์กันแดดในปริมาณที่เหมาะสมกับบริเวณของร่างกายที่สัมผัสกับแสงแดด เช่น จมูก ใบหู โหนกแก้ม เป็นบริเวณที่สัมผัสแสงแดดได้มากกว่าบริเวณอื่น จึงอาจต้องทาผลิตภัณฑ์กันแดด ปริมาณมากกว่าบริเวณอื่น เป็นต้น

4. หลีกเลี่ยงบริเวณรอบดวงตาหรือเนื้อเยื่ออ่อน เพราะอาจเกิดการระคายเคืองหรือแพ้ได้ง่าย

5. ควรทาก่อนออกแดดประมาณ 20 – 30 นาที เนื่องจาก ผลิตภัณฑ์ต้องใช้เวลาในการจัดเรียงตัวและ

ปกคลุมผิวหนัง
นอกจากผลิตภัณฑ์กันแดดดังที่กล่าวมาในข้างต้น ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับแสงแดดที่สำคัญอีกอย่าง คือผลิตภัณฑ์ใช้ภายหลังสัมผัสแสงแดด (after-sun product) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภายหลังการสัมผัสแดด แล้วเกิดอาการอักเสบ ผลิตภัณฑ์ after-sun จะทำหน้าที่ลดการอักเสบ ลดการแพ้หรือผิวแห้งหลุดลอกเนื่องจากแสงแดด
เอกสารอ้างอิง
1.  งานกำหนดมาตรฐาน กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด (สำหรับประชาชน).กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2555.
2. Marionnet C, Pierrard C, Golebiewski C, Bernerd F. Diversity of biological effects induced by longwave UVA rays (UVA1) in reconstructed skin. PLoS One 2014; 9(8): e105263. doi:10.1371

/journal.pone.0105263.
3. พิมพร ลีลาพรพิสิฐ. เครื่องสำอางสำหรับผิวหนัง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์; 2551.
4. อรัญยา มโนสร้อย,จีรเดช มโนสร้อย. เวชสำอาง. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554.
5. ฐานิสร โรจนดิลก. ผลิตภัณฑ์ป้องกันแดด. ใน: มัณฑนา ภาณุมาภรณ์, ฤดี เสาวคนธ์, บรรณาธิการ. ผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลผิวพรรณ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร; 2548.หน้า 101-9.
6. Therapeutic Goods Administration (AU). Literature review on the safety of titanium dioxide and zinc oxide nanoparticles in sunscreens [Internet]. Canberra:  2013  [cited 2014 Dec 11]. Available from: http://www.plosone.org/article/info%3Adoi%2F10.1371%2Fjournal.pone.0105263.
อ้างอิง https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=1546697174307433754#editor

อาการก่อนมีประจำเดือน อาการที่ผู้หญิงเป็นแต่ผู้ชายอาจไม่รู้

อาการก่อนมีประจำเดือน อาการที่ผู้หญิงเป็นแต่ผู้ชายอาจไม่รู้


โดย นศภ. สุวเนตร์ มงคลการ -- อ่านแล้ว 255702 ครั้ง
 
อาการปวดท้องน้อย ปวดหัว อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย เป็นกลุ่มอาการเริ่มต้นของการมีประจำเดือน
ซึ่งมีชื่อว่า PMS หรือ Premenstrual Syndrome เป็นอาการทางกาย พฤติกรรม และอารมณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการมีประจําเดือน อาจมีอาการได้ถึง 2 สัปดาห์ก่อนการมีประจําเดือน อาการจะดีขึ้นและหมดไปเมื่อประจําเดือนมา 2–3 วัน กลุ่มอาการดังกล่าวจัดอยู่ในระดับไม่รุนแรงถึงรุนแรงปานกลาง โดยทั่วไปจะไม่ส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน แต่บางรายอาจมีอาการขั้นรุนแรง ที่เรียกว่า PMDD หรือ Premenstrual Dysphoric Disorder ได้
สาเหตุการเกิด PMS
สาเหตุสำคัญเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในช่วงระหว่างการตกไข่ในแต่ละรอบเดือน (ประมาณ 7-10 วันก่อนการมีประจำเดือน) ปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง ปัญหาจากความเครียด โรคทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า การขาดสารอาหารพวกวิตามินและเกลือแร่ หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือกาเฟอีนเป็นประจำ
อาการของ PMS มีดังนี้
  1. อาการทางด้านอารมณ์: หงุดหงิด เครียด โกรธง่าย วิตกกังวล กระวนกระวายใจ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
  2. อาการทางด้านร่างกาย: เหนื่อยง่าย อ่อนล้า มีการบวมของร่างกาย อยากอาหารมากกว่าปกติทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ท้องเสียหรือท้องผูก คัดตึงเต้านม เป็นสิว นอนมากเกินไปหรือน้อยเกินไป และบางรายมีอาการนอนไม่หลับ
            อาการที่พบบ่อยได้แก่ บวม เจ็บเต้านม ปวดศีรษะ น้ำหนักเพิ่ม นอนไม่หลับ รับประทานมากขึ้น สมาธิสั้น หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ซึมเศร้า และอารมณ์แปรปรวน
อันตรายจาก PMS มีหรือไม่?
ความรุนแรงของ PMS สามารถเพิ่มระดับจนพัฒนาเป็น PMDD  โดยจะมีความรุนแรงทางด้านอารมณ์มากกว่า PMS คือ มีอารมณ์ก้าวร้าว ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หดหู่ใจ สิ้นหวัง รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า อยากฆ่าตัวตาย หรืออยากทำร้ายผู้อื่น ซึ่งจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างรีบด่วน
อาการของ PMDD
ถ้าถ้าหากพบว่ามีอาการดังกล่าวอย่างน้อย 5 ข้อ แสดงว่าคุณมีโอกาสเป็น PMDD ซึ่งจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  1. ซึมเศร้า หมดหวัง คิดทำร้ายตัวเอง
  2. วิตกกังวลและเครียด
  3. อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
  4. อารมณ์ไม่มั่นคงโกรธง่าย
  5. ไม่สนใจชีวิตประจำวันและไม่สนใจคนรอบข้าง
  6. ไม่มีสมาธิ
  7. อ่อนเพลีย
  8. กินจุ กินบ่อย  
  9. นอนไม่หลับ
  10. ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้
  11. อาการทางกายได้แก่ แน่นท้อง เจ็บเต้านม ปวดศีรษะ ปวดข้อ
การรักษาและการดูแลสุขภาพโดยรวม
ทำสมุดบันทึกการมีรอบเดือนและจดรายละเอียดของอาการที่เกิดขึ้นทุกครั้ง เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับแพทย์ในการบำบัดรักษาในรายที่มีอาการรุนแรง
  1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา
  • แนะนำหลีกเลี่ยงกาแฟ บุหรี่ สุรา หลีกเลี่ยงของหวาน อาหารเค็ม อาหารรสจัด
  • รับประทานผัก ผลไม้ และธัญพืช
  • ออกกำลังกายประมาณครึ่งชั่วโมงต่อวัน เนื่องจากการออกกำลังกายทำให้ร่างกายผลิตสารเอ็นโดฟิน (endorphine) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้มีความสุขและช่วยลดความเครียด
  • รับประทานวิตามินบี 6 วิตามินอี แคลเซียม และแมกนีเซียม ตามคำแนะนำของแพทย์
  • นอนพักให้เพียงพอ ลดความเครียด
  1. การรักษาโดยใช้ยา
  • กลุ่มยาที่รักษาอาการซึมเศร้า คลายกังวล ช่วยลดอาการหงุดหงิด เศร้า หรือก้าวร้าว โดยการสั่งจ่ายยาในกลุ่มนี้ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์
  • ยาแก้ปวดรับประทานตามอาการ
  1. การรักษาโดยการใช้ฮอร์โมน
  • ใช้ยาฮอร์โมนเพศหญิงที่มีฮอร์โมนต่ำ เช่น ยาคุมกำเนิด เพื่อปรับระดับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุล จะช่วยลดอาการทางกายได้
  1. การรักษาโดยใช้จิตบำบัด (psychotherapy)
เอกสารอ้างอิง
  1. Dipiro JT, Talbert RL, Yee GC, Matzke GR, Wells BG, Posey LM. Pharmacotherapy A Pathophysiologic Approach 8thed. New York, NY: McGraw-Hill; 2011; 1404-6.
  2. Yonkers KA, Casper RF. Clinical manifestations and diagnosis of premenstrual syndrome and premenstrual dysphoric disorder [Internet]. 2014 [cited 2014 Nov 16]. Available from: http://www.uptodate.com/contents/clinical-manifestations-and-diagnosis-of-premenstrual-syndrome-and-premenstrual-dysphoric-disorder?source=search_result&search= pms+pmdd &selectedTitle=1~150.
  3. Casper RF. Patient information: Premenstrual syndrome (PMS) and premenstrual dysphoric disorder (PMDD) (Beyond the Basics). 2013 [cited 2014 Nov 16]. Available from: http://www.uptodate.com/contents/premenstrual-syndrome-pms-and-premenstrual-dysphoric-disorder-pmdd-beyond-the-basics.
  4. Yonkers KA, O'Brien PM, Eriksson E. Premenstrual syndrome. Lancet 2008; 371:1200-10.
  5. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. Premenstrual dysphoric Disorder: Diagnosis and Treatment. 2547 [cited 2014 Nov 16]. Available from: http://www.ramamental.com /topics/int4814.pdf.
อ้างอิง http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=36